วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตัวกระผมเอง (About me)

ตัวกระผมเอง (About me)

ผมชื่อ ณัฐชนน เชยเจริญ  อายุ 14 ปี เกิดวันที่ 21 มิถุนายน ครอบครัวมี 3 คน อยู่ที่ ถ.นิมิตรใหม่ 34 คลองสามวา แขวงสามวาตะวันออก เรียนอยู่ที่อัสสัมชัญ ห้องม.2/3 เลขที่ 14 เวลาว่างจะชอบอ่านหนังสือนิยายพวกเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมและนิยายที่ทำขึ้นเป็นหนัง เช่น Percy Jackson,The Hunger game
เล่นเกมก็มีบ้างแต่ตอนนี้เริ่มชักจะเบื่อละ ทีวีก็จะดูพวกหนังเป็นสะส่วนใหญ่แล้วรองลงมาก็จะเป็นการ์ตูนกับเกมโชว์ ซิทคอม ที่ชอบมากเลยก็คือเป็นต่อ สายลับเดอะซีรีย์และก็หมวดโอภาส เรื่องพวกนี้ช่วยให้ผ่อนคลาย สิ่งที่ชอบก็คือเรื่องวุ่นๆที่คนอื่นทำแต่อยู่ดีๆก็ลากเราเข้าไปเกี่ยวด้วยสะงั้น และเรื่องลึกลับ ปริศนา ตำนานต่างๆ ยกเว้นประวัติศาสตร์ไทย  อาชีพที่อยากจะเป็นก็คือนิติเวศน์ไม่ก็นักโบราณคดีหรือเป็นอาชีพที่ตายไวๆเช่นนักอวกาศ ไม่ชอบที่จะทำงานในห้องสี่เหลี่ยม เป็นคนชอบท่องเที่ยวผจญภัย
ชอบอยู่ในกลุ่มเพื่อนเยอะแต่มักจะอยู่นิ่งๆในกลุ่ม บ้านผมไม่ใหญ่มาก อยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ มีรถ 2 คัน สิ่งที่ไม่ชอบคือกลิ่นปลาตามตลาด,แมลงและแมงมุม ชอบกินทุกอย่างที่กินได้ หนังที่ชอบ Inception,Percy Jackson,The mummy,Kick-ass

My name is Nutchanon  Choeycharoen.I am 14 years old.My birthday is on 21th of June.I don't have any brother or sister so my family has 3 people.Don't mind my address because you won't go to my home right?I study at Assumption College or AC.I am in room 3 no.14.In my free times I usually read fictions about the the crime and fictions that make into the movie.I play computer games sometimes but it begins boring now.I watch movie the most and some sitcoms (situation comedy).They make me feel relax and good humored.I like to listen to music when I'm transpot.My favourite types of music are K-pop and Pop-Rock.I like mystery and history except history of Thailand.In the future I want to be one kind of doctor's career (I don't know this occupation in English.It's about autopsy).I afaid of spiders and every insects.



-Thanks for reading my blog-    

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ชื่อเทพและสัตว์ในตำนานกรีก

ชื่อเทพและสัตว์ต่างๆในตำนานกรีก

ชื่อเทพในตำนาน แห่งยอดเขาโอลิมปัส             เทพเจ้าแห่งโอลิมปัส คือเหล่าทวยเทพที่อาศัยร่วมกันอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส ซึ่งมักเข้าใจกันว่ามีอยู่ทั้งหมด 12 องค์ แต่แท้จริงแล้วสามารถนับได้ถึง 16 องค์ ดังนี้


        1. ซุส (Zeus)


             เทพผู้เป็นราชาแห่งเทพทั้งมวล ไม่เว้นแม้แต่เหล่ามนุษย์ ซึ่งมี สายฟ้า (Thunderbolt ) หรือ อัศนีบาต เป็นอาวุธ และมีพี่น้อง 5 องค์ คือ โพไซดอน ดีมิเทอร์ เฮร่า ฮาเดส และเฮสเทีย

        2. โพไซดอน (Poseidon)








             เทพเจ้าแห่งท้องทะเล ผู้เป็นน้องชายของซุส มี ตรีศูล หรือ สามง่าม เป็นอาวุธ

        3. ดีมิเทอร์ (Demeter)



             เทพีแห่งความสมบูรณ์ ผู้ควบคุมด้านเกษตรกรรม

        4. เฮร่า (Hera)


             ราชินีแห่งสวรรค์ ผู้ซึ่งเป็นทั้งพี่สาวและภรรยาของซุส เธอเป็นเทพีแห่งการให้กำเนิด และสตรี ผู้มีนกยูงเป็นสัตว์ประจำตัว

        5. เฮสเทีย (Hestia)


             เทพีแห่งครอบครัว พรหมจรรย์ และการครองเรือน อีกทั้งยังเป็นเทพีที่คอยคุ้มครองบ้านเรือน ผู้ซึ่งมีไฟนิรันดร เป็นสัญลักษณ์

        6. แอเรส (Ares) หรือ มาร์ส (Mars)






             บุตรของ ซุส กับ เฮร่า เป็นเทพแห่งสงคราม มีสัตว์ประจำตัวคือ เหยี่ยว และสุนัขมังกรไฟ มีน้องสาวชื่อ อีริส เทพีแห่งการวิวาท ซึ่งเป็นภรรยาของเขาด้วย

        7. อพอลโล่ (Apollo)


             บุตรของซุส กับ เทพีเลโต และมีน้องสาวฝาแฝดคือ อาร์เทมิส (Artemis) เทพเจ้าแห่งการทำนาย กีฬา และการรักษาโรค ทั้งยังเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ มี พิณ เป็นเครื่องดนตรีประจำตัว

        8. อาร์เทมิส (Artemis)



             เทพีแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์ ฝาแฝดของ อพอลโล่ และเป็น 1 ใน 3 เทพีพรหมจรรย์ ที่มีอาวุธเป็นคันธนู โดยมีสุนัขเป็นผู้ติดตาม

        9. เฮอร์มีส (Hermes)


             บุตรของซุส กับ นางไม้มีอา เป็นเทพแห่งการค้า การโจรกรรม ทั้งยังเป็นผู้ส่งสารของเหล่าทวยเทพ มี คฑาคะดูเซียส (สัญลักษณ์แห่งการแพทย์) ประจำกาย ชอบสวมหมวกปีกกว้าง

        10. อาร์เธน่า (Arthena) หรืออีกชื่อคือ มิเนอร์ว่า (Minerva)






             เทพีแห่งความเฉลียวฉลาด ผู้ซึ่งเชียวชาญศิลปศาสตร์กรีกทุกแขนง และเป็นที่มาของชื่อเมืองเอเธนส์ (Athens) มีสัตว์ประจำตัวเป็น นกฮูก

        11. อโฟร์ไดร์ (Aphrodite) หรือ วีนัส (Venus)


             เทพีแห่งความรักและความงดงาม บุตรีของซุส และเทพีไดโอนี่ ซึ่งนางมีสัมพันธ์ชู้สาวกับ แอเรส (Ares) จนเกิดเป็นทายาทคือ คิวปิด (Cupid) นั่นเอง

        12. ฮีเฟสตุส (Hephaestus)


 เทพแห่งไฟ และการช่าง บุตรของซุส กับ เฮร่า เป็นเทพที่พิการและรูปร่างอัปลักษณ์


        
13. ไดโอเนซัส (Dionysus) เทพแห่งไวน์ และเทพแห่งละคร ผู้ซึ่งเป็นความหวังในการเก็บเกี่ยวผลไม้




        14. เพอร์ซิโฟเน บุตรีของ ดีมิเทอร์ ที่ถูก ฮาเดส จับไปเป็นภรรยา และสามารถกลับขึ้นมาบนโลกได้เพียงช่วงเปลี่ยนฤดูกาลเท่านั้น


        15. อีรอส (Eros) หรือ (Cupid) กามเทพผู้เป็นตัวแทนของความรัก บุตรของ อโฟร์ไดร์ และ แอเรส


        16. ฮาเดส (Hedes) หรือ เฮดีส (Hedes) เทพแห่งยมโลกใต้ดิน ผู้ซึ่งเป็นความหวังของชาวเหมืองแร่


คลิปรายการเกมโชว์




อมนุษย์ ที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้ง
             - เซนทอร์ (Centaur) สัตว์ที่มีร่างกายส่วนบนเป็นมนุษย์ผู้ชาย แต่ส่วนล่างลงไปเป็นครึ่งของม้าหนุ่มที่สง่างาม มีคันศรและลูกดอกเป็นอาวุธ-
            
 เมดูซ่า (Medusa) แม่มดที่มีผมเป็นงูนับร้อยตัว ซึ่งถูกเทพโพไซดอนขืนใจเมื่อครั้งยังเป็นสาวงาม จึงถูก อาร์เธนา สาปให้กลายเป็นมารร้ายหน้าตาน่าเกลียด และมีผมเป็นงู เมดูซ่าจึงโกรธแค้นและเกลียดชัง ใช้พลังของเธอสาปผู้คนที่สบตากับเธอ จนกลายเป็นมารร้ายที่แสนน่ากลัวไปโดยปริยาย


- เปกาซัส (Pegasus) ม้าร่างกำยำสีขาวบริสุทธิ์ ที่สามารถบินได้ด้วยปีกอันสง่างาม ซึ่งเปกาซัสเป็นทายาทของ เมดูซ่า และไม่มีใครปราบได้เลย





 เลือดผสม

             - เฮอร์คิวลิส (Hercules) บุตรแห่งซุส กับ มนุษย์ชื่อ นางอัลค์เมนา เฮอร์คิวลิส เป็นผู้มีพลังมากที่สุดในกรีก และมีชื่อเสียงโด่งดัง

             - อคิลลิส (Achilleus) วีรบุรุษในสงครามเมืองทรอย บุตรชายของกษัตริย์ชาวเมอร์มิดอน ผู้ซึ่งเก่งกาจกลศึกสงคราม และในที่สุดก็ถูกสังหารจากการรบในสงครามเมืองทรอย

Movie about Hercules now in cinema



credit:http://hilight.kapook.com/view/52086
http://www.dek-d.com/board/view/1666974/

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณี/วัฒนธรรมของแต่ละจังหวัดในภาคเหนือ

ประเพณี/วัฒนธรรมของแต่ละจังหวัดในภาคเหนือ
 ภาคเหนือ ตอนบน มีทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่

    1. จังหวัดเชียงราย

    2. จังหวัดเชียงใหม่

    3. จังหวัดน่าน

    4. จังหวัดพะเยา

    5. จังหวัดแพร่

    6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    7. จังหวัดลำปาง

    8. จังหวัดลำพูน

    9. จังหวัดอุตรดิตถ์

          ภาคเหนือ ตอนล่าง มีทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่
    1. จังหวัดตาก

    2. จังหวัดพิษณุโลก

    3. จังหวัดสุโขทัย

    4. จังหวัดเพชรบูรณ์

    5. จังหวัดพิจิตร

    6. จังหวัดกำแพงเพชร

    7. จังหวัดนครสวรรค์

    8. จังหวัดอุทัยธานี

 วัฒนธรรมในท้องถิ่นของภาคเหนือ แบ่งออกได้ดังนี้

 วัฒนธรรมทางภาษาถิ่น          ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า "คำเมือง" ของภาคเหนือเอง โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่  ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน

วัฒนธรรมการแต่งกาย          การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น


      สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงาม อาจห่มสไบทับ และเกล้าผม
     ส่วนผู้ชายนิยมนุ่งนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า "เตี่ยว" "เตี่ยวสะดอ" หรือ "เตี่ยวกี" ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ ที่เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน หรือคอจีนแขนยาว อาจมีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า และมีผ้าโพกศีรษะ

          ชาวบ้านบางแห่งสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้าคาดเอว เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง

วัฒนธรรมการกิน

         ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับคนอีสาน  คือ  กินข้าวเหนียวและปลาร้า  ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า  ข้าวนิ่งและฮ้า  ส่วนกรรมวิธีการปรุงอาหารของภาคเหนือจะนิยมการต้ม  ปิ้ง แกง หมก ไม่นิยมใช้น้ำมัน ส่วนอาหารขึ้นชื่อเรียกว่าถ้าได้ไปเที่ยวต้องไปลิ้มลอง ได้แก่ น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกน้ำปู, ไส้อั่ว, แกงโฮะ, แกงฮังเล, แคบหมู, ผักกาดจอ ลาบหมู, ลาบเนื้อ, จิ้นส้ม (แหนม), ข้าวซอย, ขนมจีนน้ำเงี้ยว  เป็นต้น

ประเพณีของภาคเหนือ          ประเพณีของภาคเหนือ เกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิต และศาสนาพุทธความเชื่อเรื่องการนับถือผี ส่งผลทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีที่จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ ภาคเหนือจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน จึงขอยกตัวอย่างประเพณีภาคเหนือบางส่วนมานำเสนอ ดังนี้

          สงกรานต์งานประเพณี ถือเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้นปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์งานประเพณี
              แห่นางแมว  ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม เป็นช่วงของการเพาะปลูก หากปีใดฝนแล้งไม่มีน้ำ จะทำให้นาข้าวเสียหาย ชาวบ้านจึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว โดยมีความเชื่อกันว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตก

          ประเพณีปอยน้อย/บวชลูกแก้ว/แหล่ส่างลองเป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของชาวเหนือ นิยมจัดภายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม หรือเมษายน ตอนช่วงเช้า ซึ่งเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ในพิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีการแห่งลูกแก้วหรือผู้บวชที่จะแต่งตัวอย่างสวยงามเลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชจนตรัสรู้  และนิยมให้ลูกแก้วขี่ม้า  ขี่ช้าง  หรือขี่คอคน  เปรียบเหมือนม้ากัณฐกะม้าทรงของเจ้าชายสิทธัตถะ  ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียง  คือ  ประเพณีบวชลูกแก้ว  ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประเพณีปอยหลวง หรืองานบุญปอยหลวง เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคม ถือว่าเป็นการให้ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม

            ช่วงเวลาจัดงานเริ่มจากเดือน 5 จนถึงเดือน  7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลา 3-7 วัน


            ประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง โดยจะมีงาน "ตามผางผะติ้ป" (จุดประทีป) ซึ่งชาวภาคเหนือตอนล่างจะเรียกประเพณีนี้ว่า “พิธีจองเปรียง” หรือ “ลอยโขมด” เป็นงานที่ขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย

             ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในธันวาคมจะมีการเกี่ยว "ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว "ข้าวปี"

             ประเพณีลอยโคม ชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้าย ๆ ต่าง ๆ ให้ไปพ้นจากตัว

 
ประเพณีตานตุง  ในภาษาถิ่นล้านนา ตุง หมายถึง "ธง" จุดประสงค์ของการทำตุงในล้านนาก็คือ การทำถวายเป็นพุทธบูชา ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปแล้วก็จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก วันที่ถวายตุงนั้นนิยมกระทำในวันพญาวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์
 ประเพณีกรวยสลาก หรือตานก๋วยสลาก  เป็นประเพณีของชาวพุทธที่มีการทำบุญให้ทานรับพรจากพระ จะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตนและอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณ และเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชน

             ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล บูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่

             ประเพณีงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ในแผ่นดินพระเจ้าลิไท วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

             ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ  เพื่อเป็นการเคารพสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ

             ประเพณีลอยกระทงสาย เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท

             ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า เป็นการเตรียมอาหารเพื่อนำไปถวาย (ทำบุญ) ข้าวพระพุทธในวันพระของชาวไทยใหญ่

             ประเพณีทอดผ้าป่าแถว เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่มและไทยธรรม เป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามคติความเชื่อแต่โบราณ กระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน  12  (วันลอยกระทง)

             ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ประมาณเดือนมิถุนายน (หรือปลายเดือนพฤษภาคม) เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

             ประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดน่าน

             ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ วัดติโลกอาราม จังหวัดพะเยา

             ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง จังหวัดตาก

             ประเพณีทานหลัวผิงไฟ คือ ประเพณีการถวายฟืนแก่พระสงฆ์เพื่อใช้จุดไฟในช่วงฤดูหนาว จะกระทำในเดือน 4  เหนือหรือตรงกับเดือนมกราคม

             ประเพณีอู้สาว คำว่า “อู้” เป็นภาษาไทยภาคเหนือแปลว่า “พุดกัน คุยกัน สนทนากัน สนทนากัน” ดังนั้น “อู้สาว” ก็คือ พูดกับสาว คุยกับสาว หรือแอ่วสาวการอู้สาวเป็นการพดคุยกันเป็นทำนองหรือเป็นกวีโวหาร


              นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ไทยยวน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ ไทยพวน ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวนหรือไทยโข่ง

เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือ
             วัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านท้องถิ่นในของภาคเหนือ เน้นความเพลงที่มีความสนุกสนาน สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ไม่จำกัดฤดู ไม่จำกัดเทศกาล ส่วนใหญ่นิยมใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะ อ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวล สอดคล้องเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถแยกเพลงพื่นบ้านภาคเหนือได้ 4 ประเภทดังนี้


เพลงซอ คือการร้องเพลงร้องโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง เพื่อเกี้ยวพาราสีกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึง เคล้าคลอไปด้วย

           เพลงค่าว ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ

           เพลงจ๊อย คล้ายการขับลำนำ โดยมีผู้ร้องหลายคน เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือ นำมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆ โดยเนื้อหาเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา ทั้งนี้ มีผู้ขับร้องเพียงคน เดียว โดยจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูง และจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา

           เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่น ๆ คือ เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงกล่อมลูก หรือเพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุ่ง-จา (สิก จุ่ง-จา หมายถึง เล่นชิงช้า) ซึ่งการสิกจุ่งจาเป็นการละเล่นของภาคเหนือ จะผู้เล่นมีกี่คนก็ได้ โดยชิงช้าทำด้วยเชือกเส้นเดียวสอดเข้าไปในรูกระบอกไม้ซาง แล้วผูกปลายเชือกทั้งสองไว้กับต้นไม้หรือใต้ถุนบ้าน

 

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์(Computer Network)
 

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ
แล้วทำไมเราถึงต้องใช้เครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การที่เรานำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ หรือระบบสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำให้ใช้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้ (Resources Sharing) ซึ่งเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก ในการใช้งาน เช่น การใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถบริหารจัดการการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) เช่น สร้างเวิร์กกรุป กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถทำการ สำรองข้อมูล ของแต่ละเครื่องได้ สามารถทำการสื่อสาร ภายในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ เช่น อีเมล์, แชท (Chat), การประชุมทางไกล (Teleconference), และ การประชุมทางไกล แบบเห็นภาพ (Video Conference)มีระบบรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล บนเครือข่าย (Network Security) เช่นสามารถ ระบุผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ในระดับต่างๆ ป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาติ เข้าถึงข้อมูล และให้การคุ้มครอง ข้อมูลที่สำคัญ ให้ความบันเทิงไม่รู้จบ (Entertainment) เช่น สามารถสนุกกับ การเล่นเกมส์ แบบผู้เล่นหลายคน หรือที่เรียกว่า มัลติ เพลเยอร์(Multi Player) ที่กำลัง เป็นที่นิยมกันอยู่ในเวลานี้ได้
ใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) เพียงต่อเข้าอินเทอร์เน็ต จากเครื่องหนึ่งในเครือข่าย โดยมีแอคเคาท์เพียงหนึ่งแอคเคาท์ ก็ทำให้ผู้ใช้อีกหลายคน ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เสมือนกับมีหลายแอคเคาท์
ฯลฯ
  

ระบบเครือข่ายชนิดต่างๆ

ระบบเครือข่าย สามารถเรียกได้ หลายวิธี เช่นตามรูปแบบ การเชื่อมต่อ (Topology) เช่น แบบบัส (bus), แบบดาว (star), แบบวงแหวน (ring) หรือจะเรึยกตามขนาด หรือระยะทางของระบบก็ได้ เช่นแลน (LAN), แวน (WAN), แมน (MAN) นอกจากนี้ ระบบเครือข่าย ยังสามารถ เรียกได้ตาม เทคโนโลยีที่ไช้ ในการส่งผ่านข้อมูล เช่น เครือข่าย TCP/IP, เครือข่าย IPX, เครือข่าย SNA หรือเรียกตาม ชนิดของข้อมูล ที่มีการส่งผ่าน เช่นเครือข่าย เสียงและวิดีโอ
เรายังสามารถจำแนกเครือข่ายได้ ตามกลุ่มที่ใช้เครือข่าย เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet), เอ็กซ์ตร้าเน็ต (Extranet), อินทราเน็ต (Intranet), เครือข่ายเสมือน (Virtual Private Network) หรือเรียก ตามวิธีการ เชื่อมต่อทางกายภาพ เช่นเครือข่าย เส้นใยนำแสง, เครือข่ายสายโทรศัพท์, เครือข่ายไร้สาย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า เราสามารถจำแนก ระบบเครือข่าย ได้หลากหลายวิธี ตามแต่ว่า เราจะพูดถึง เครือข่ายนั้นในแง่มุมใด เราจำแนก ระบบเครือข่าย ตามวิธีที่นิยมกัน 3 วิธีคือ รูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology), รูปแบบการสื่อสาร (Protocol), และ สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Architecture)
  
การจำแนกระบบเครือข่าย ตามรูปแบบการเชื่อมต่อ (Topology) จะบอกถึงรูปแบบ ที่ทำการ เชื่อมต่ออุปกรณ์ ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งมีรูปแบบที่นิยมกัน 3 วิธีคือ
  

แบบบัส (bus)

แบบบัส (bus)
  
ในระบบเครือข่าย โทโปโลยีแบบ BUS นับว่าเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน ลักษณะการทำงานของเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลัก ที่เรียกว่า "บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง จะถูกส่งเข้าสู่สายบัส ในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของ ผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในสายบัส จะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เป็นการป้องกันการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัส สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่ง เมื่อเข้าสู่บัสจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ข้างของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่าตำแหน่งปลายทาง ที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้น ตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้
การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบคือ แบบควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized) ซึ่งจะมีโหนดหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ การควบคุมแบบกระจาย (Distributed) ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่าย จะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสาร แทนที่จะ เป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการส่ง-รับ ข้อมูลกันอย ู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้นข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส
  

แบบดาว (star)

แบบดาว (star)
  
เป็นหลักการส่งและรับข้อมูล เหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่าย จะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Center Comtuper) เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสาร ที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ศูนย์กลาง จึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย
การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทาง โดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบ STAR เป็นโทโปโลยี อีกแบบหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ข้อดีของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้
  

แบบวงแหวน (ring)

แบบวงแหวน (ring)
  

เครือข่ายแบบ RING เป็นการส่งข่าวสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่าย ไปในทิศทางเดียว เหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง โดยไม่มีจุดปลาย หรือเทอร์มิเนเตอร์ เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่น จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 เครื่อง ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูล ที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูล ที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้น ส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป
  

โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)

โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)
  
เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร
 
 
 
Credit: http://saithammachannetwork.blogspot.com/