วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณี/วัฒนธรรมของแต่ละจังหวัดในภาคเหนือ

ประเพณี/วัฒนธรรมของแต่ละจังหวัดในภาคเหนือ
 ภาคเหนือ ตอนบน มีทั้งหมด 9 จังหวัด ได้แก่

    1. จังหวัดเชียงราย

    2. จังหวัดเชียงใหม่

    3. จังหวัดน่าน

    4. จังหวัดพะเยา

    5. จังหวัดแพร่

    6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    7. จังหวัดลำปาง

    8. จังหวัดลำพูน

    9. จังหวัดอุตรดิตถ์

          ภาคเหนือ ตอนล่าง มีทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่
    1. จังหวัดตาก

    2. จังหวัดพิษณุโลก

    3. จังหวัดสุโขทัย

    4. จังหวัดเพชรบูรณ์

    5. จังหวัดพิจิตร

    6. จังหวัดกำแพงเพชร

    7. จังหวัดนครสวรรค์

    8. จังหวัดอุทัยธานี

 วัฒนธรรมในท้องถิ่นของภาคเหนือ แบ่งออกได้ดังนี้

 วัฒนธรรมทางภาษาถิ่น          ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า "คำเมือง" ของภาคเหนือเอง โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่  ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน

วัฒนธรรมการแต่งกาย          การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น


      สำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงาม อาจห่มสไบทับ และเกล้าผม
     ส่วนผู้ชายนิยมนุ่งนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า "เตี่ยว" "เตี่ยวสะดอ" หรือ "เตี่ยวกี" ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ ที่เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน หรือคอจีนแขนยาว อาจมีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า และมีผ้าโพกศีรษะ

          ชาวบ้านบางแห่งสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้าคาดเอว เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง

วัฒนธรรมการกิน

         ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับคนอีสาน  คือ  กินข้าวเหนียวและปลาร้า  ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า  ข้าวนิ่งและฮ้า  ส่วนกรรมวิธีการปรุงอาหารของภาคเหนือจะนิยมการต้ม  ปิ้ง แกง หมก ไม่นิยมใช้น้ำมัน ส่วนอาหารขึ้นชื่อเรียกว่าถ้าได้ไปเที่ยวต้องไปลิ้มลอง ได้แก่ น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกน้ำปู, ไส้อั่ว, แกงโฮะ, แกงฮังเล, แคบหมู, ผักกาดจอ ลาบหมู, ลาบเนื้อ, จิ้นส้ม (แหนม), ข้าวซอย, ขนมจีนน้ำเงี้ยว  เป็นต้น

ประเพณีของภาคเหนือ          ประเพณีของภาคเหนือ เกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิต และศาสนาพุทธความเชื่อเรื่องการนับถือผี ส่งผลทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีที่จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ ภาคเหนือจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน จึงขอยกตัวอย่างประเพณีภาคเหนือบางส่วนมานำเสนอ ดังนี้

          สงกรานต์งานประเพณี ถือเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้นปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์งานประเพณี
              แห่นางแมว  ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม เป็นช่วงของการเพาะปลูก หากปีใดฝนแล้งไม่มีน้ำ จะทำให้นาข้าวเสียหาย ชาวบ้านจึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว โดยมีความเชื่อกันว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตก

          ประเพณีปอยน้อย/บวชลูกแก้ว/แหล่ส่างลองเป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของชาวเหนือ นิยมจัดภายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม หรือเมษายน ตอนช่วงเช้า ซึ่งเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ในพิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีการแห่งลูกแก้วหรือผู้บวชที่จะแต่งตัวอย่างสวยงามเลียนแบบเจ้าชายสิทธัตถะ เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชจนตรัสรู้  และนิยมให้ลูกแก้วขี่ม้า  ขี่ช้าง  หรือขี่คอคน  เปรียบเหมือนม้ากัณฐกะม้าทรงของเจ้าชายสิทธัตถะ  ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียง  คือ  ประเพณีบวชลูกแก้ว  ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประเพณีปอยหลวง หรืองานบุญปอยหลวง เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคม ถือว่าเป็นการให้ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม

            ช่วงเวลาจัดงานเริ่มจากเดือน 5 จนถึงเดือน  7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลา 3-7 วัน


            ประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง โดยจะมีงาน "ตามผางผะติ้ป" (จุดประทีป) ซึ่งชาวภาคเหนือตอนล่างจะเรียกประเพณีนี้ว่า “พิธีจองเปรียง” หรือ “ลอยโขมด” เป็นงานที่ขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย

             ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในธันวาคมจะมีการเกี่ยว "ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว "ข้าวปี"

             ประเพณีลอยโคม ชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อย โคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้าย ๆ ต่าง ๆ ให้ไปพ้นจากตัว

 
ประเพณีตานตุง  ในภาษาถิ่นล้านนา ตุง หมายถึง "ธง" จุดประสงค์ของการทำตุงในล้านนาก็คือ การทำถวายเป็นพุทธบูชา ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปแล้วก็จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก วันที่ถวายตุงนั้นนิยมกระทำในวันพญาวันซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์
 ประเพณีกรวยสลาก หรือตานก๋วยสลาก  เป็นประเพณีของชาวพุทธที่มีการทำบุญให้ทานรับพรจากพระ จะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ตนและอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการระลึกถึงบุญคุณของผู้มีพระคุณ และเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคีของคนในชุมชน

             ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล บูชาเสาหลักเมืองเชียงใหม่

             ประเพณีงานประเพณีนบพระเล่นเพลง ในแผ่นดินพระเจ้าลิไท วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

             ประเพณีงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ  เพื่อเป็นการเคารพสักการะเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ

             ประเพณีลอยกระทงสาย เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท

             ประเพณีแล้อุ๊ป๊ะดะก่า เป็นการเตรียมอาหารเพื่อนำไปถวาย (ทำบุญ) ข้าวพระพุทธในวันพระของชาวไทยใหญ่

             ประเพณีทอดผ้าป่าแถว เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่มและไทยธรรม เป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ก่อนจะทำพิธีลอยกระทงบูชาพระพุทธบาทตามคติความเชื่อแต่โบราณ กระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน  12  (วันลอยกระทง)

             ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า ประมาณเดือนมิถุนายน (หรือปลายเดือนพฤษภาคม) เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

             ประเพณีแข่งเรือยาว จังหวัดน่าน

             ประเพณีเวียนเทียนกลางน้ำ วัดติโลกอาราม จังหวัดพะเยา

             ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง จังหวัดตาก

             ประเพณีทานหลัวผิงไฟ คือ ประเพณีการถวายฟืนแก่พระสงฆ์เพื่อใช้จุดไฟในช่วงฤดูหนาว จะกระทำในเดือน 4  เหนือหรือตรงกับเดือนมกราคม

             ประเพณีอู้สาว คำว่า “อู้” เป็นภาษาไทยภาคเหนือแปลว่า “พุดกัน คุยกัน สนทนากัน สนทนากัน” ดังนั้น “อู้สาว” ก็คือ พูดกับสาว คุยกับสาว หรือแอ่วสาวการอู้สาวเป็นการพดคุยกันเป็นทำนองหรือเป็นกวีโวหาร


              นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ไทยยวน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ ไทยพวน ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวนหรือไทยโข่ง

เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือ
             วัฒนธรรมเพลงพื้นบ้านท้องถิ่นในของภาคเหนือ เน้นความเพลงที่มีความสนุกสนาน สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ไม่จำกัดฤดู ไม่จำกัดเทศกาล ส่วนใหญ่นิยมใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะ อ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวล สอดคล้องเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถแยกเพลงพื่นบ้านภาคเหนือได้ 4 ประเภทดังนี้


เพลงซอ คือการร้องเพลงร้องโต้ตอบกันระหว่างชายหญิง เพื่อเกี้ยวพาราสีกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึง เคล้าคลอไปด้วย

           เพลงค่าว ซึ่งเป็นบทขับร้องที่มีทำนองสูงต่ำ ไพเราะ

           เพลงจ๊อย คล้ายการขับลำนำ โดยมีผู้ร้องหลายคน เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือ นำมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆ โดยเนื้อหาเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา ทั้งนี้ มีผู้ขับร้องเพียงคน เดียว โดยจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูง และจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา

           เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่น ๆ คือ เพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงกล่อมลูก หรือเพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุ่ง-จา (สิก จุ่ง-จา หมายถึง เล่นชิงช้า) ซึ่งการสิกจุ่งจาเป็นการละเล่นของภาคเหนือ จะผู้เล่นมีกี่คนก็ได้ โดยชิงช้าทำด้วยเชือกเส้นเดียวสอดเข้าไปในรูกระบอกไม้ซาง แล้วผูกปลายเชือกทั้งสองไว้กับต้นไม้หรือใต้ถุนบ้าน

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น